messager
bubble_chart ตำนานและมหัศจรรย์ “บั้งไฟพญานาค”
ตำนานและมหัศจรรย์ บั้งไฟพญานาค
ตำนานและมหัศจรรย์ “บั้งไฟพญานาค”
“นาค” หรือ “พญานาค”  ก็คือ มโหราด มีความหมายว่า งูใหญ่  ตามคัมภีร์ พระพุทธศาสนา ( ปรมัตตราดโชขติกะมหาอภิธัมมัตถสังคทฏีกา )
“นาค” หรือ “พญานาค” ก็คือ มโหราด  มีความหมายว่า งูใหญ่  ตามคัมภีร์  พระพุทธศาสนา ( ปรมัตตราโชขติกมหาอภิธัมมัตถสังคทฏีกา ) แบ่งรายละเอียด คือ ๑,๐๒๔  ชนิด  คำว่านาค ปรากฏไว้ในที่หลายแห่งว่า  มีลำตัวยาวอย่างงู  แต่มีหงอนที่สวยงามตามยศศักดิ์  ดังปรากฏตามวัดวาอารามทั่วไป  กล่าวกันว่า  ที่อยู่ของเทวดาจะอยู่เหนือพิภพ  มนุษย์และสัตว์  จะอยู่บนพิภพ ส่วนใต้พิภพเป็นที่อาศัยของนาค  นาคนั้นมีอิทธิฤทธิ์สามารถแปลงกายได้ตามใจปรารถนา  แม้จะเดินทางไปไหนก็ไม่ต้องเลื้อยไปอย่างงู  แต่หากเมื่อตาย  นอนหลับหรือผสมพันธุ์  ก็ต้องกลับสู่ร่างนาคเช่นเดิม  ตำนานพุทธาวตาร  พระสมณโคดมบรมพุทธเจ้าก็มีนาคเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลายคราว  ครั้งหนึ่งนาคได้แปลงกายเป็นมนุษย์เข้าบวชเป็นพระภิกษุ แต่เมื่อพอหลับนอน กายก็กลับร่างเป็นงูใหญ่  จนพระภิกษุรูปอื่นเห็นเข้า  จึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า  ให้ทรงทราบ  พระองค์จึงให้ลาสิกขาไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน  แต่นาคก็ทูลขอให้พระภิกษุ  ทำพิธีบวชให้เรียกขานว่า “นาค” ด้วย ดังนั้นชายใดที่ได้เข้าบวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา  จึงได้รับการเรียกขานว่า  นาคก่อนเสมอ
เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้  เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา ๑ พรรษา  ครั้นถึงวันออกพรรษา ( ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ) จึงเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์  ซึ่งเชื่อกันว่าวันนี้  โลกทั้ง ๓ จะมองเห็นกันทั้งหมด  เหล่าบรรดาเทวดามนุษย์สัตว์และนาคมีความปิติยินดี  นำเครื่องบูชาถวายกันอย่างพร้อมเพรียง  โดยพญานาค ก็พ่นลูกไฟให้เห็นกันในวันดังกล่าวด้วย
บั้งไฟพญานาค  หรือในอดีตชาวหนองคาย เรียกกันว่า บั้งไฟผี  ปรากฏมาเป็นเวลาช้านานเกิดขึ้นในลำน้ำโขงพื้นที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬเท่านั้น  มีลักษณะเป็นดวงไฟสีแดงอมชมพู  ขนาดลูกหมากโผล่  พุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง  สว่างเรืองแสงสดใสปราศจากควัน  เสียงกลิ่น  ไม่มีสะเก็ด  ไม่โค้งตกลงมา  หรือแตกออก  แต่แสงจะวูบวับหายไปในท้องฟ้า  เมื่อขึ้นไปได้สัก ๕๐ – ๑๕๐ เมตร  ต่อมาชาวหนองคายได้พร้อมใจขนานนาม  บั้งไฟผี  เสียใหม่ให้เป็นมงคลว่า “บั้งไฟพญานาค”  ด้วยเชื่อว่าพญานาคที่อาศัยใต้วังบาดาล  ในลำน้ำโขง  ปล่อยลูกไฟในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ของทุกปี  เพื่อเป็นพุทธบูชา  แก่พระพุทะองค์  เมื่อเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ในช่วงระยะเวลา ๓๐ ปี ที่ผ่านมา  เมื่อประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจแห่แหนกันมาชมและพิสูจน์ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก  จังหวัดหนองคาย  จึงได้จัดกิจกรรมรองรับและตอบสนอง  ระหว่างวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ( ซึ่งปีนี้ตรงกับวันพุธที่ ๑๒  ตุลาคม  ๒๕๕๔ ) อย่างมากมาย  หลากหลายประเภทและอำนวยความสะดวก  ความปลอดภัยในการเดินทาง
 
ลอยเรือไฟ
ประเพณีดั้งเดิมของชาวหนองคาย หรือ ชนชาวอีสาน  ในแถบลุ่มน้ำโขง  มีธรรมเนียมปฏิบัตินับมาเป็นเวลาช้านานในวันปวารณาออกพรรษาคือ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปีจะทำเฮือไฟ ( เรือไฟ )  ไหลล่องไปตามลำน้ำ ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากต้นกล้วย  ท่อนไม้  หรือไม้ขุดเป็นรูปลำเรือ  บรรจุเครื่องบูชา  ธูปเทียนดอกไม้  บางครั้งก็ใส่ขนม  นมเนย  หมากพลูลงไปด้วย  แต่หากบ้านเรือนที่อยู่ไกลแม่น้ำ ลำห้วย  ก็มักจะจุดเทียนหรือ  ถ้วยตะไลใส่น้ำมันเป็นประทีป  ประดับตามขอบระเบียงนอกบ้าน  หรือวัดวาอารามในตอนค่ำ  โดยใช้กาบกล้วยประดิษฐ์เป็นรูปเรือแทนภาชนะรองรับ  ถือว่า ทำบุญกุศล  บูชาพญานาคและบูชาพระพุทธองค์ที่เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  หลังจากเทศนาโปรดพุทธมารดา  ซึ่งแตกต่างจากภาคอื่นๆ  ที่จัดให้มีการลอยกระทง  หรือลอยประทีปในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  ที่มีจุดมุ่งหมาย  เคารพสักการะต่อพระแม่คงคงที่มีคุณต่อมวลมนุษย์ทั้งหลาย
แข่งขันเรือยาว
ชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง  โดยเฉพาะจังหวัดหนองคาย  ได้มีการใช้เรือขุดในการสัญจรไปมาระหว่างเมืองต่างๆ  เพื่อการติดต่อสื่อสารการขนส่ง  การประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำ  จนกระทั่งจัดเป็นกองทัพเรือเพื่อขนส่งเสบียง  ลำเลียงกำลังพล  หรืออาวุธยุทธภัณฑ์  แม้เป็นฝีพายที่อยู่ในเรือ  พอถึงฝั่งก็กลายเป็นนักรบได้ทันที  จากเรือยาวสมัยโบราณ  ขนาดบรรจุฝีพาย  แตกต่างกัน  เพื่อการรบพุ่ง  หรือฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มพละกำลังความชำนาญ  ก็มาสู่การแข่งขันเพื่อเพิ่มความสนุกสนานรื่นเริง  ปีนี้จังหวัดหนองคายกำหนดการจัดงานบุญประเพณีออกพรรษาประจำปี ๒๕๕๔  ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๕  ตุลาคม  ๒๕๕๔ การแข่งขันเรือยาวของหนองคาย  คือมี ๓ ประเภท  ถือเป็นสุดยอดของรายการเพราะเป็นการชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สยามมกุฎราชกุมาร  และมีเงินรางวัลอีกนับแสนบาท
ปราสาทผึ้ง
การแห่ปราสาทผึ้ง  เป็นประเพณีโบราณของชาวจังหวัดหนองคาย  ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานมุ่งทำเป็นพุทธบูชา  เพื่อการรับเสด็จมาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ในวันรุ่งขึ้น  ปราสาทผึ้งหรือชาวอีสาน เรียกว่า “ผาสาทเผิ่ง”  ชาวหนองคายจะเอาวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑  เป็น “วันโฮม”  หรือวันรวมปราสาทผึ้งจากคุ้มต่างๆ  มาตั้งประดิษฐาน ณ  วัดพระธาตุหล้าหนอง  ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมมหาสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  หากวัดใด  อยู่ติดริมน้ำโขงก็จะใช้การแห่แหนมาทางน้ำ  ในอดีตมีความคึกคักสนุกสนานและเอิกเกริกมาก
ตักบาตรเทโวโรหะนะ
วันเทโวโรหะนะ  หมายถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลกมาสู่โลกมนุษย์  หลังจากที่ได้แสดงธรรมเทศนาโปรดพระมารดาและเสด็จจำพรรษา  ณ  ดาวดึงส์พิภพครบไตรมาสแล้ว  โดยเสด็จลงทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร  ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ  เดือน ๑๑  หรือที่เรียกกันว่า “วันพระเจ้าเปิดโลก” ด้วยภพทั้ง ๓ สวรรค์  โลกและบาดาลเปิดเห็นกันหมดและสามารถสื่อสารกันได้เพียงวันเดียว  ในครั้งนั้นเมื่อประชาชนรู้ข่าวต่างก็พร้อมใจมาเฝ้า  และนำภัตตาหารมาถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นจำนวนมาก  ผู้ที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถตักหยิบอาหารใส่บาตรได้ก็ปั้นข้าวเป็นก้อนๆแล้วโยนใส่บาตรจนเป็นประเพณีนิยมห่อเป็นข้าวต้ม  หรือทำข้าวต้มลูกโยน  ในบางพื้นที่ใส่บาตรในวันตักบาตรเทโวโรหะนะ
จังหวัดหนองคาย  ถือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑  เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง  ด้วยพื้นฐานความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนามาในระยะหนึ่งจังหวัดหนองคายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในช่วงออกพรรษา  และใส่บาตรในวันตักบาตรเทโวมากขึ้น  ปีนี้จังหวัดหนองคาย  เปิดโอกาสให้ทำบุญใส่บาตรได้หลายเส้นทางในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย
 
เทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค
เทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค
จังหวัดหนองคาย
 
“บั้งไฟพญานาค”  เป็นปรากฏการณ์ของการเกิดลูกไฟสีแดงอมชมพูพวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงจังหวัดหนองคาย    จะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำตั้งแต่ระดับ – 30 เมตร  แล้วจะพุ่งขึ้นสูงประมาณระดับ 50 – 150  เมตร เป็นเวลาประมาณ  5 -10 วินาที  แล้วดับหายวับไปในอากาศและไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ  โดยลูกไฟไม่มีกลิ่น   ไม่มีควัน   ไม่มีเสียง   ขนาดของลูกไฟมีขนาดตั้งแต่เท่าหัวแม่มือ  กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่  จะเริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่เวลาหลังพระอาทิตย์ตกดินจนถึงประมาณ  23.00 น.
“ตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค”
ตามพุทธประวัติกล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  พระองค์ได้เสด็จเผยแพร่ศาสนาไปทั่วชมพูทวีป  พญานาคีบังเกิดความเลื่อมใสและศรัทธายิ่ง  จึงจำแลงกายเป็นบุรุษขอบวชเป็นสาวก ค่ำคืนหนึ่งพญานาคีเผลอหลับใหลคืนร่างเดิม  พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงขอให้ลาสิกขา  เนื่องจากเป็นเดรัจฉานจะบวชเป็นภิกษุมิได้  พญานาคียอมตามคำขอแต่ขอว่ากุลบุตรทั้งปวงที่จะบวชให้เรียกขานว่า “นาค”  เพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาคก่อนค่อยเข้าโบสถ์  จากนั้นเป็นต้นมาจึงเรียกขานกุลบุตรทั้งหลายที่จะบวชว่า  “พ่อนาค”  ต่อมาเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าได้เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน  เมื่อกลับสู่โลกมนุษย์  เหล่าบรรดาพญานาคี  นาคเทวี  พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชา และพ่นบั้งไฟถวาย  ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บั้งไฟพญานาค”
“บั้งไฟพญานาค”  จึงเป็นปรากฏการณ์น่าพิศวงที่รอการพิสูจน์จากผู้คนทั่งโลก  ซึ่งจะมีปรากฏการณ์ในช่วงวันออกพรรษาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11  ของทุกปี  และคาดว่าจะมี “บั้งไฟพญานาค”  ปรากฏในวันนี้  ซึ่งผู้สนใจสามารถเดินทางไปชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค  ได้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดหนองคาย  เช่น อำเภอสังคม  อำเภอศรีเชียงใหม่  อำเภอเมือง  อำเภอโพนพิสัย  อำเภอรัตนวาปี    และจังหวัดบึงกาฬ  อำเภอปากคาด  อำเภอเมือง  และอำเภอบึงโขงหลง ฯลฯ  
ในปีนี้จังหวัดได้เตรียมการไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว  ในเรื่องเส้นทางการจราจร  ที่พัก  หมู่บ้านโฮมสเตย์  การจัดเตรียมพื้นที่พักแรม  สำรองให้นักท่องเที่ยวที่ยังไม่มีที่พักแรม
 
Nong Khai Naga Fireballs and Ok Phansa Festival
The Naga Fireballs
The phenomenon of pinkish red Naga fireballs rocketing from the Mekong River takes place only over this stretch in Nong Khai province. The fireballs usually appear at 1-30 metres above the waters surface before rising to the levels of 50 – 150 metres for approximately 5 – 10 seconds and,unlike fireworks,disappear without falling down from the sky. The sizes of the odourless,smokeless,and noiseless fireballs rang from that of a thumb to a hens egg. The phenomenon will start after sunset until around 11.00 p.m.
Legend of the Nsga Fireballs
According to the life of the Buddha,after having gained enlightenment,the Buddha travelled around ancient India to propagate Buddhism. Out of great faith,the Naga Serpent King transformed himself into a man and requested to be ordained. One night, the Naga King carelessly fell asleep and resumed his original form as a serpent. He was asked by the Buddha to leave the monhood, as an animal could not be ordained. The Naga King accepted but implored that  a  monk-to-be called Naga-Nak in Thai-in his honour before attending the ordination ceremony to become a monk.Later,when the Buddha returned to the Earth from Tavatimsa Heaven where he stayed for 3 months to preach to his late mother,the Naga King and Queen,as well as their entourage,prepared some offerings including blowing fireballs to welcome Him back. Hence,the fireballs have since become known among villagers as “Naga fireballs”.
The “Naga Fireballs” is an amazing phenomenon waiting to be proven by people around the world. It happens annually right at the end of Buddhist Lent-Ok Phansa – on the full moon night of the 11th lunar month. This year, based on statistics,a larger number of fireballs are expected.
Viewing Spots
Amphoe Sangkhom,Amphoe Si Chiang Mai,Amphoe Mueang Nong Khai,Amphoe Phon Phisai,King Amphoe Rattanawapi,Amphoe Pak Khat, Amphoe Bueng Kan, and Amphoe Bueng Khong Long.
 
บั้งไฟพญานาค สิ่งมหัศจรรย์ แห่งลุ่มน้ำโขง
ช่วงเทศกาล   ออกพรรษาของทุกปี   โดยเฉพาะคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  ซึ่งเป็นวันออกพรรษา ( ปีใดมีเดือนแปดสองหนจะเลื่อนขึ้นไปอีก ๑ วัน คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑   ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ของประเทศลาว )   มหาชนจากทั่วทุกทิศจะหลั่งใหลมาที่อำเภอโพนพิสัย  และที่แก่งอาฮงหน้าวัดอาฮงศิลาวาส  อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย อย่างเนืองแน่นชนิดที่หาที่จอดรถไม่ได้  หรือแทบจะเดินไม่ได้   
มหาชนเหล่านั้นมา เพื่อที่จะร่วมงานประเพณีไหลเรือไฟ   และจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ มาชมบั้งไฟพญานาค  ลูกไฟมหัศจรรย์   ที่พุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง   ที่เรียกว่ามหัศจรรย์นั้น   เพราะยังเป็นการที่ยากจะพิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร   เกิดขึ้นได้อย่างไร  และทำไมจึงเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษาเท่านั้น  แม้วันออกพรรษาของแต่ละปีคลาดเคลื่อนไปตามวันเดิม  บั้งไฟพญานาค  ก็จะเคลื่อนไปตามวันออกพรรษาของปีนั้นๆ   และทำไมถึงต้องเกิดขึ้น  และเกิดขึ้นเฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้น
บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นจากแม่น้ำโขง  พุ่งขึ้นสู่อากาศแล้วก็หายไป  เกิดขึ้นทั้งกลางแม่น้ำโขง  และบริเวณใกล้ๆ ฝั่ง  ขึ้นสูงประมาณ ๓๐ – ๕๐ เมตร  บางแห่งขึ้นสูงเป็น ๑๐๐ เมตร    ขนาดของลูกไฟที่เกิดขึ้นนั้นมีขนาดโตเท่าผลส้ม  ขนาดกลางเท่าไข่ไก่     ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ     เวลาที่เกิดไม่แน่นอนแต่ต้องมืดค่ำก่อนถึงจะเกิด    บางปีเกิดตั้งแต่หัวค่ำ
(  เวลา ๑๘.๐๐  นาฬิกา ) บางปีเกิดในเวลาตั้งแต่  ๓ – ๔ ทุ่ม  เรื่อยไปจนถึงเวลาเที่ยงคืน  ถึง ๐๒.๐๐ นาฬิกา  จำนวนที่เกิดขึ้นนั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน  บางแห่งเกิดขึ้นเพียง ๑ ลูก  บางแห่งเกิดขึ้น ๒๐ ลูก  หรือบางแห่งก็เกิด ๕๐ – ๑๐๐ ลูก ก็มี หรือมากกว่านั้น สถานที่เกิดส่วนมากจะเป็นลำแม่น้ำโขง  แต่ก็มีบ้างที่เกิดขึ้นในห้วยหนองที่อยู่ใกล้ๆ  กับแม่น้ำโขงและอยู่ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย  อำเภอปากคาด  และบริเวณบ้านอาฮง  อำเภอบึงกาฬบางส่วน
ลักษณะการพุ่งขึ้นจากน้ำ  ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งเมื่อลูกไฟพุ่งขึ้นสูงจะเฉเข้าหาฝั่งมากกว่าเฉออกนอกฝั่ง  วิ่งเร็วช้าไม่เท่ากัน  ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งจะช้า  ถ้าเกิดอยู่กลางน้ำจะเร็ว   ลักษณะลูกไฟไม่เหมือนกัน  ถ้าเกิดบริเวณอำเภอโพนพิสัยจะเป็นสีแดงอมชมพู  แต่ถ้าเกิดที่แก่งอาฮง  ตำบลหอคำ  อำเภอบึงกาฬ  จะเป็นสีเขียวจนเห็นได้ชัด  ลูกไฟที่พุ่งขึ้นเมื่อสูงสุดแล้วจะหายไปเฉยๆไม่มีตกลงมาให้เห็น  ลูกไฟที่เกิดขึ้นไม่มีเสียง  ไม่มีเปลวเหมือนลูกไฟทั่วไป  ไม่มีควัน  บริเวณที่พบ คือ แม่น้ำโขงบริเวณวัดไทย  เขตสุขาภิบาลโพนพิสัย  บริเวณจุมพล  เขตสุขาภิบาลบริเวณห้วยหลวง ที่แม่น้ำห้วยหลวงไหลลงสู่แม่น้ำโขง  บริเวณวัดหลวง  บริเวณบ้านจอมนาง  และที่หนองสรวง  ซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  ปากน้ำห้วยเป  บ้านน้ำเป  อำเภอรัตนวาปี  บริเวณตลิ่งวัดบ้านหนองกุ้ง   อำเภอรัตนวาปี   หนองต้อน   ตำบลหนองต้อน   ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย   และที่บริเวณแก่งอาฮง  บ้านอาฮง  ตำบลหอคำ  อำเภอบึงกาฬ  บริเวณนี้จะเป็นลูกไฟสีเขียวมรกต
แม่น้ำโขงที่มีความยาว ๔,๐๐๐  กิโลเมตร  ได้เริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศจีน  ไหลผ่านพม่า  ไทย  ลาว  กัมพูชา  และเวียดนาม   ประชาชนที่อยู่อาศัยตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงไทย – ลาว  ต่างก็ใช้ประโยชน์ร่วมกัน   ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตรกรรม   การบริโภค  เลี้ยงสัตว์  การคมนาคม  การประกอบพิธีกรรมทางน้ำ  ตลอดถึงการพักผ่อนหย่อนใจ   ประชาชนชาวไทย  ลาว ต่างก็มีความสัมพันธ์กันมานาน  ในปีหนึ่งๆ จะมีผู้เสียชีวิตในลำน้ำโขงปีละไม่น้อย  ซึ่งผู้ที่เสียชีวิตในลำน้ำโขงนั้น คนเฒ่า  คนแก่ เชื่อว่าเป็นการกระทำของเทพเจ้าทางน้ำ ( ชาวบ้านเรียกกันว่า เงือก ) เทพเจ้าทางน้ำที่ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำโขงนับถือ ก็คือ เจ้าแม่สองนาง ( งู ๑ คู่ ) งูเงือก  และพญานาค  เป็นสิ่งเดียวกันสุดแต่ว่าใครจะเรียก
เพื่อเป็นการเซ่นไหว้  และลดการเสียชีวิตของผู้ประกอบการทางน้ำ   จึงปรากฏเห็นศาลเจ้าแม่สองนางตารมแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งฟากฝั่ง   เช่น   ศาลเจ้าแม่สองนาง   อำเภอเมืองหนองคาย  ที่วัดหายโศก   ศาลเจ้าแม่สองนางอำเภอโพนพิสัย    
ที่ปากห้วยหลวง    ศาลเจ้าแม่สองนางที่บ้านจอมนางอำเภอโพนพิสัย    ศาลเจ้าแม่สองนางที่อำเภอบึงกาฬ  หน้าโรงพยาบาลบึงกาฬ   โดยในแต่ละปีจะมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนางเพื่อให้เจ้าแม่สองนางปกป้องคุ้มครองไม่ให้ประสบภัยอันตรายและเกิดศิริมงคลแก่ผู้ประกอบการทางน้ำ
พญานาค  งู  เงือก  คือ เทพเจ้าทางน้ำ  เป็นความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น  จริงเท็จอย่างไรนั้น ยากแก่การพิสูจน์  แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ  ๑๕  ค่ำ เดือน  ๑๑  หรือวันแรม  ๑  ค่ำ เดือน  ๑๑   พี่น้องที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขง  บริเวณตั้งแต่บ้านวัดหลวง   เขตสุขาภิบาลโพนพิสัย   บ้านน้ำเป    บ้านอาฮง   จะพบกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้  ชาวอำเภอโพนพิสัย    ตลอดจนผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำโขงตามสถานที่กล่าวมานี้    เรียกติดปากมาตั้งแต่สมัย  ปู่    ย่า   ยาย  ว่า
 บั้งไฟพญานาค
ความเป็นมานั้น จากการเล่าของคนเฒ่า  คนแก่ คือ ในคืนวันเพ็ญเดือน  ๑๑  ขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เมื่อนั่งเรือออกไปหาปลากลางแม่น้ำโขงจะเกิดมีลูกไฟขึ้นรอบๆ   เรือเป็นจำนวนมาก  จนเกิดความกลัวต้องพายเรือเข้าหาฝั่งและจะเกิดขึ้นเฉพาะใน
คืนดังกล่าวเท่านั้น   ต่อมาทางอำเภอโพนพิสัยได้จัดงานไหลเรือไฟ  และชมบั้งไฟพญานาค   โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจากทั่วสารทิศเดินทางมาชมบั้งไฟพญานาค  สิ่งมหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง  บางคนก็มาด้วยการอยากรู้ เพื่อพิสูจน์ด้วยตาตนเอง  ซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้ที่มาชมผิดหวัง  ผู้ที่เดินทางมาจากทั่วสารทิศ   เมื่อเห็นกับตาตัวเอง  ก็ยังไม่แน่ใจ  คิดว่าจะต้องมีคนทำขึ้นเองบ้าง  ความคิดจึงได้แตกต่างกันออกไป  แต่ก็พอแยกได้  คือ
๑. กลุ่มคนรุ่นใหม่  คือ  พวกหัววิทยาศาสตร์  ซึ่งมีความเชื่อว่าลูกไฟที่พุ่งขึ้นมานั้นเป็นการรวมตัวกันชองก๊าซหรือ
แร่ธาตุ  เมื่อรวมตัวกันแล้วถูกแรงอัดพุ่งขึ้นเหนือน้ำทำปฏิกิริยากับอากาศ   แล้วเกิดแสงสว่างขึ้นแต่ก็มีผู้แย้งว่า ทำไมต้องมาเกิดเฉพาะวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เท่านั้น
๒. กลุ่มไม่แสดงความคิดเห็น  ดูแล้วเห็นว่ามีลูกไฟขึ้นมาจริงจากลำแม่น้ำโขง
๓. กลุ่มหัวโบราณ  มีความเชื่อว่าลำแม่น้ำโขงเป็นที่อยู่ของนาค  ซึ่งเป็นเทพชนิดหนึ่ง  สามารถแปลงกายเป็นงู หรือ คนก็ได้  ลำน้ำโขงบริเวณอำเภอโพนพิสัย  เป็นภาพ หรือเมืองหน้าด่าน  ที่เป็นทางขึ้นสู่เมืองมนุษย์ของเหล่าพญานาค  ในคืนวันขึ้น  ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑  หรือวัดออกพรรษา   เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์  เพื่อเป็นการต้อนรับพระพุทธองค์    บรรดาพญานาค  ที่อยู่ตามลำแม่น้ำโขง  จึงพ่นบั้งไฟถวายเป็นพุทธบูชา  ลูกไฟที่พุ่งขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง  จึงเรียกกันว่า   “ บั้งไฟพญานาค”
ที่สำคัญคนยังรู้ไม่มากก็คือ ตลอดลำแม่น้ำโขง   ระยะความยาว ๔,๐๐๐ กิโลเมตร  นี้  ตรงที่ลึกที่สุด   ที่เรียกว่า “สะดือแม่น้ำโขง”   นั้น อยู่ที่แก่งอาฮง   คนเฒ่า   คนแก่   เคยวัดโดยใช้เชือกผูกก้อนหินหย่อนลงไปวัดได้  ๙๘  วา    และ
ตรงจุดนั้น   จะเป็นแอ่งน้ำวนขนาดใหญ่  เมื่อหน้าแล้งจะเห็นได้ชัดเจนมาก    นอกจากที่แก่งอาฮงจะเป็นจุดที่ลึกที่สุด   ของ
ลำน้ำโขงแล้ว  ชาวบ้านยังเชื่อว่าจุดดังกล่าว  เป็นภพ  หรือเมืองหลวงของพญานาค   โดยคนเฒ่า  คนแก่  เล่าว่าแก่งอาฮง นั้น 
 
จะมีลักษณะคล้ายงูขนาดใหญ่    ว่ายข้ามจากฝั่งไทยไปยังฝั่งลาว    ในลักษณะตรง   น้ำแตกเป็นฟอง    ถ้าหากไปดูบริเวณริมฝั่งโขง   จะเห็นรอยพญานาคปรากฏอยู่   ฝั่งตรงข้ามกับแก่งอาฮงจะมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำโขง
จากคำบอกเล่าของพ่อเฒ่าอุ่นหล้า   อัศศมนตรี  อายุ  ๙๑  ปี  อยู่บ้านเลขที่  ๔๓๕  คุ้มวัดศรีคุณเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดหนองคาย  ในสมัยหนุ่มๆ   เป็นนายท้ายเรือที่ล่องเรือไปมาระหว่างหนองคาย – บึงกาฬ  เมื่อถึงฤดูน้ำเต็มตลิ่ง  เมื่อผ่านมาถึงแก่งอาฮง  บริเวณที่เรียกว่า   “สะดือแม่น้ำโขง”    จะเห็นสิ่งประหลาดมองห่างจากเรือประมาณ  ๑  กิโลเมตร  มีต้นตาลขนาดใหญ่ไม่มีใบ     โผล่ขึ้นจากน้ำราวๆ  ๒  เมตร  มีละอองน้ำเป็นฝอย ๆ  รอบๆ  ต้นตาลสีดำมัน  แต่เมื่อเดินเรือเข้าไปใกล้ๆ  ก็จะไม่เห็นอะไร  ทำให้ผู้คนที่เดินทางตามลำน้ำ  เมื่อผ่านบริเวณนี้  ก็จะนำพวกหมากพลู  เหล้าขาว  โยนลงไปในน้ำ  เพื่อเป็นการเซ่นไหว้เจ้าที่  เจ้าทาง บริเวณแก่งอาฮง   มีความประหลาดอีกประการ  คือ  ศพจะไหลไม่พ้นแก่งอาฮง  เมื่อมีคนหรือศพตกลงในแม่น้ำโขงเหนือแก่งอาฮง  ไม่ว่าที่ใด   ถ้าหาศพไม่พบ  จะหาพบได้ที่นี่  คือ แก่งอาฮง
สิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้   ไม่ว่าจะเป็น ลูกไฟที่พุ่งขึ้นจากกลางแม่น้ำโขง  ที่เรียกว่า  “ บั้งไฟพญานาค”   หรือ  รอยประหลาดที่เกิดขึ้นบนหน้ารถของชาวบ้านที่จอด ไว้หน้าวัดไทย   อำเภอโพนพิสัย  ถึง  ๕  ครั้ง  เมื่อเดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๓๖   เพื่อแสดงให้เห็นว่าพญานาคมีจริง   เนื่องจากไม่มีคนเชื่อ  จึงเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ  ให้เห็น   ซึ่งรอยประหลาดนี้  มีคนเชื่อว่าเป็นรอยพญานาค  สิ่งต่างๆ   เหล่านี้  ยังเป็นเรื่องที่จะต้องหาทางพิสูจน์ต่อไป   ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไร  แต่ทุกอย่างก็เกิดขึ้นเป็นประจำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๑  คือ วันออกพรรษา  หากใครไม่เชื่อก็ไปพิสูจน์ด้วยตนเองได้  ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณอำเภอโพนพิสัย  อำเภอรัตนวาปี  และบริเวณแก่งอาฮง  ตำบลหอคำ  อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
 
เทศกาลออกพรรษา “บั้งไฟพญานาค” จังหวัดหนองคาย
               “บั้งไฟพญานาค”  เป็นปรากฏการณ์ของการเกิดลูกไฟสีแดงอมชมพูพวยพุ่งขึ้นจาก
ลำน้ำโขง  จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงจังหวัดหนองคาย   ซึ่งจะเริ่มปรากฎเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ ๕๐ - ๑๕๐  เมตร  เป็นเวลา  ๕ - ๑๐  นาที แล้วดับหายวับไปในอากาศ  และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ ไม่มีกลิ่น  ไม่มีควัน  ไม่มีเสียง  ขนาดของลูกไฟมีขนาดตั้งแต่หัวแม่มือกระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ โดยจะเริ่มปรากฎให้เห็นตั้งแต่หลังพระอาทิตย์ตกดินจนถึงประมาณ ๒๓.๐๐ น.
ตำนานการเกิดบั้งไฟพญานาค  ตามพุทธประวัติกล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  พระองค์ได้เสด็จเผยแพร่ศาสนาไปทั่วชมพูทวีปพญานาคีบังเกิดความเลื่อมใสและศรัทธายิ่ง  จึงจำแลงกายเป็นบุรุษขอบวชเป็นสาวกค่ำคืนหนึ่งพญานาคีเผลอหลับใหลคืนร่างเดิม พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงขอให้ลาสิกขา เนื่องจากเป็นเดรัจฉานจะบวชเป็นภิกษุมิได้  พญานาคียอมตามคำขอแต่ขอว่ากุลบุตรทั้งปวงที่จะบวช ให้เรียกขานว่า  “นาค”  เพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาคก่อนเข้าโบสถ์  จากนั้นเป็นต้นมาจึงเรียกขานกุลบุตรทั้งหลายที่จะบวชว่า  “พ่อนาค”  ต่อมาเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา  ๓  เดือน  เมื่อกลับสู่โลกมนุษย์ เหล่าบรรดาพญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชาและพ่นบั้งไฟถวายซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า  “บั้งไฟพญานาค”
  “บั้งไฟพญานาค” จึงเป็นปรากฏการณ์น่าพิศวงที่รอการพิสูจน์จากผู้คนทั่วโลก ในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่  ๒๓  ตุลาคม  ๒๕๕๓  และคาดว่าจะมี “บั้งไฟพญานาค”  ปรากฎในวันนี้  ซึ่ง     ผู้สนใจ  สามารถเดินทางไปชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ได้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดหนองคาย เช่น อำเภอรัตนวาปี  อำเภอปากคาด  อำเภอบึงกาฬ และอำเภอบึงโขงหลง ฯลฯ
  ในปีนี้  จังหวัดหนองคายได้เตรียมการต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้ ในเรื่องเส้นทางการจราจร   ที่พัก   หมู่บ้านโฮมสเตย์      การจัดเตรียมพื้นที่พักแรมสำรองให้นักท่องเที่ยวที่ยังไม่มีที่พักแรมอีกด้วย